บางทีเราเจอ Case Study ที่ดูดี, Best Practice ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ, หรือฟังบรรยายจากแหล่งให้ความรู้ต่าง ๆ กลับกลายเป็นความ “เจ็บ” ในการทำงานจริง…
เพราะในชีวิตการทำงานจริง เราอาจจะเจออุปสรรค 108 ไม่ว่าจะเป็นทั้ง นโยบายล้าหลัง, เจ้านายไม่เข้าใจ, ทีมงานไม่อิน, เอเจนซี่ทำงานตามใบสั่ง ฯลฯ จนสุดท้ายไม่ว่าจะเรื่องพื้นฐานอย่างการทำ Social Media ไปจนถึงเรื่องที่ยากขึ้นอย่าง E-Commerce หรือเรื่องที่ซับซ้อนอย่าง Omni Channel ก็ไม่เกิดขึ้นกับองค์กรที่ทำงานเสียที
จากประสบการณ์ตรงที่ได้เจอมากับตัว ทั้งการทำงานกับ Start Up ไปจนถึง Enterprise ใหญ่ ทำให้ผมเจอแบบแผน 3 ข้อที่พบได้ทุกที่ไม่ว่าจะทำงานกับบริษัทระดับไหน จึงนำมาแชร์สู่กันฟัง
1. ตื่นเต้นกับความใหม่
หลาย ๆ คนที่ชอบหาความรู้ใหม่ ๆ เพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นจากหนังสือ หรือจากงานสัมมนาต่าง ๆ มักจะโดนดึงดูดกับเทคนิคใหม่ ๆ นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ได้เรียนรู้มา และอยากเอาสิ่งเหล่านั้นมาลองใช้ในทันที
ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว บางองค์กรต้องการคนที่โฟกัสงานช่วงเริ่มต้นก่อน (เช่น Startup เปิดใหม่) ก่อนที่เราจะมองไปถึงเรื่องการ Integration ทุกอย่างที่มีรวมกับเทคนิคใหม่ ๆ ที่เพิ่งเรียนรู้มา
วิธีการแก้ไข: เราควรเปลี่ยนเป็นวางโจทย์ระยะสั้นร่วมกับแผนงานระยะยาว เช่น ปรับปรุง Digital contact point ของเราให้มีการดูแลอย่างเป็นระบบก่อน หรือพิจารณาว่า Business Strategy คืออะไร อะไรต้องทำก่อน-หลัง เป็นต้น
2. คิดว่าผู้ใหญ่ไม่ยอมเปลี่ยน
อันนี้เป็นประสบการณ์จริงที่เจอ เราอาจจะเคยโน้มน้าวผู้ใหญ่ในบริษัทเรื่องไอเดียใหม่ ๆ แต่ไม่ได้รับการตอบรับที่ดีนัก ซึ่งจริง ๆ ไม่ได้เกิดจากว่าคนระดับผู้นำในองค์กรใหญ่ ๆ หัวโบราณ หรือตามโลกไม่ทัน
บางครั้งเรื่องที่นายของคุณต้องคิด หรือให้ความสำคัญ อาจไม่ใช่เรื่องที่คุณกำลังอินจากการสัมมนา หรืออ่าน Blog มาเมื่อคืน พวกเขาอาจจะกำลังยุ่งกับเรื่องผลกำไรของบริษัท ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเงินเดือนของคุณในปีหน้ามากกว่า
วิธีการแก้ไข: แน่นอนว่าจากประสบการณ์ของผม มีผู้ใหญ่หลายท่านยอมเปลี่ยน แต่คุณเองต้องมีแผนงานดี ๆ ที่ทำให้เจ้านายของคุณมองเห็นความเชื่อมโยงได้ว่า เปลี่ยนแล้วดีกว่าเดิมยังไง เพราะในโลกที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไม่มีผู้บริหารบริษัทคนไหนอยากเห็นบริษัทตัวเองล้าหลังจนตาย
3. เชื่อทุกอย่างใน Key Note ของคนอื่น
เคยถามตัวเองบ้างไหมว่าเราใส่เนื้อหาอะไรลงใน Slide เวลาขายงาน ? แน่นอนว่าเราก็ต้องใส่ Success Case หรืองานที่เราทำแล้วประสบความสำเร็จ ส่วนงานไม่ดีเราก็จะไม่ใส่ ไม่พูดถึงใช่ไหมล่ะ ?
อย่าลืมว่ากูรูต่าง ๆ ก็เช่นกัน เวลาเค้าเอางานมาโชว์ในที่ต่าง ๆ เค้าก็จะเลือกอันที่เป็น Best Practice อันที่ได้ผลสวยงาม แต่ไอ้ที่เจ็บๆ พลาดๆ ไม่ค่อยพูดกัน
วิธีการแก้ไข: อย่าตื่นเต้นเฉพาะเรื่องบวก แต่ต้องมองให้รอบด้าน เพราะบางอย่างก็ไม่ได้เหมาะกับสิ่งที่เราทำอยู่ มีใครในโลกนี้มี Success rate 100% บ้าง ถามเคสแบบเจ็บๆ บ้าง จะได้เรียนรู้ไปในตัว
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับท่านที่ชอบศึกษาอะไรใหม่ ๆ หรือชอบไปตามงานสัมมนา เช่นเดียวกับทีมงานของ GrowthBee นะครับ 🙂
สุดท้ายนี้ ถ้าสนใจเทคนิคดี ๆ ในการพัฒนาธุรกิจ / Startup ของคุณ และอยากอ่านบทความใหม่ ๆ จากเราก่อนใคร สามารถทำการลงทะเบียน Email ในกล่องสีเหลืองด้านล่างนี้ได้ครับ
ถ้าชอบ รบกวนกดไลค์ กดแชร์ เป็นกำลังใจให้เว็บเปิดใหม่กับทีมงานกลุ่มเล็ก ๆ นี้ครับ